คำแนะนำเกี่ยวกับการรักษาโรคข้อไหล่: เอ็นไหล่ขาด ไหล่ติด ข้อไหล่เสื่อม ข้อไหล่หลุด หินปูนเกาะเส้นเอ็น
วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2558
ปวดไหล่จากเนื้องอก !!!
ปวดไหล่จากเนื้องอก !!!
มะเร็งในกระดูกหัวไหล่ พบได้ไม่บ่อยครับ
แต่ถ้าใครเป็นขึ้นมา ก็คงต้องรักษากันยาวแน่นอน...
บางครั้งการตรวจร่างกายและการทำเอกซเรย์ธรรมดา ก็อาจตรวจไม่พบเนื้องอกพวกนี้ได้
เนื่องจากการเป็นมะเร็งในระยะเริ่มต้น จะยังไม่สามารถตรวจพบก้อนที่ร่างกาย
เนื้อมะเร็งมันฝังอยู่ในกระดูกลึกๆ...
ถ้าใครมีอาการปวดไหล่เรื้อรัง และแพทย์แนะนำให้ทำ MRI
ก็ควรรีบๆไปทำนะครับ
ค่าใช้จ่ายในการทำ MRI ประมาณ 10,000 บาท
สิทธิข้าราชการสามารถเบิกคืนได้ (แต่ผู้ป่วยต้องสำรองจ่ายไปก่อน)
นพ.ไตร พรหมแสง
กระดูกงอก กดทับเส้นเอ็นไหล่ขาด !!!
กระดูกงอก กดทับเส้นเอ็นไหล่ขาด !!!
เป็นโรคที่พบบ่อยมาก เอกซเรย์จะเห็นลักษณะกระดูกงอกเป็นรูปเคียว
กระดูกที่งอกจะขูดกับเส้นเอ็นไหล่เวลาเรายกแขน...ขูดไป ขูดมา เส้นเอ็นก็ขาดเป็นรู
บทความนี้ยาวนิดนึงนะครับ เนื่องจากมีผู้อ่านหลายท่านเขียนมาถาม
ผมจึงขออธิบายโดยละเอียด เพื่อผู้อ่านจะได้นำไปใช้ประโยชน์ได้จริงๆและเป็นข้อมูลหลักในการตัดสินใจครับ
กระดูกด้านบนของข้อไหล่จะมีลักษณะเหมือนหลังคาบ้าน เรียกว่ากระดูกอะโครเมียน (acromion)
ใต้กระดูกอะโครเมียนจะเป็นที่อยู่ของเส้นเอ็นไหล่
เมื่อมีกระดูกงอกมากดทับเส้นเอ็นไหล่ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บเวลายกแขน และเจ็บเวลานอนทับไหล่
ไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดว่ากระดูกงอกมันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
พบบ่อยมากในคนไข้อายุ 50 ปีขึ้นไป
อาการปวดไหล่จะเป็นมากเวลายกแขนและเวลาเอื้อมไปจับด้านหลัง
“ ผู้ป่วยส่วนมากมักเข้าใจผิดว่าเป็นโรคไหล่ติดธรรมดา ”
แต่ศัลยแพทย์ข้อไหล่ที่ชำนาญจะสามารถให้การวินิจฉัยแยกโรคได้
เอกซเรย์อาจพบกระดูกงอกเป็นแท่งยาว
การทำเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) จะช่วยให้การวินิจฉัยได้ดีที่สุด
เราจะเห็นตำแหน่งที่กระดูกงอกได้ชัดเจนและบอกตำแหน่งที่มีการฉีกขาดของเส้นเอ็นไหล่ได้อย่างแม่นยำ
การรักษาที่ดีที่สุดในปัจจุบัน คือการผ่าตัดส่องกล้องเพื่อไปเย็บซ่อมเส้นเอ็นและเจียรกระดูกให้เรียบ
เพื่อไม่ให้มันขูดกับเส้นเอ็นของเราได้อีกครับ
ในอดีตแพทย์ส่วนใหญ่จะผ่าตัดเจียรกระดูกโดยเปิดแผลขนาดใหญ่ประมาณ 7 เซนติเมตรและต้องทำการตัดกล้ามเนื้อไหล่ (Deltoid)
เพื่อที่จะเข้าไปเจียรกระดูก เป็นการผ่าตัดที่เจ็บมาก
โชคดีมากครับ...ที่ในปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีการผ่าตัดส่องกล้อง
หลังผ่าตัดก็เจ็บแผลไม่มากเหมือนในอดีต โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนก็น้อยกว่ามาก
แผลขนาดเล็กลงเหลือแค่ 1 เซนติเมตร
แต่.....ข้อเสียก็คือ การผ่าตัดส่องกล้องไหล่เป็นการผ่าตัดที่ยากมากๆ...
มีหมอกระดูกในประเทศไทยไม่กี่คนหรอกครับที่ผ่าตัดส่องกล้องไหล่ได้
( และก็มีจำนวนน้อยมากที่ผ่าตัดได้ดีจริงๆ... )
มีหมอกระดูกหลายท่านกล่าวไว้ว่า “การผ่าตัดส่องกล้องไหล่ เป็นการผ่าตัดที่ยากที่สุด” ในบรรดาการผ่าตัดทั้งหมด
แพทย์ผู้ผ่าตัดต้องผ่านการฝึกอบรมพิเศษ ฝึกฝนจนชำนาญ และมีทักษะการผ่าตัดขั้นสูง
มิเช่นนั้น...จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดได้ !!!
แพทย์บางท่านเจียรกระดูกอะโครเมียนมากเกินไป ทำให้กระดูกบางจนหักเลย...ก็มี
การผ่าตัดทุกอย่าง มีทั้ง “ข้อดี” และ “ความเสี่ยง”
ก่อนตัดสินใจรับการผ่าตัด...ผู้ป่วยควรได้รับข้อมูลทุกอย่างเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจครับ
นพ.ไตร พรหมแสง
ข้อไหล่เสื่อม !!! เกิดจากเส้นเอ็นไหล่ฉีกขาดเรื้อรัง
ข้อไหล่เสื่อม !!! เกิดจากเส้นเอ็นไหล่ฉีกขาดเรื้อรัง
การที่เส้นเอ็นไหล่ฉีกขาด แล้วไม่ได้รับการรักษา
จะเป็นสาเหตุของข้อไหล่เสื่อมได้ในอนาคต
ผู้ป่วยที่มีเส้นเอ็นไหล่ฉีกขาดระยะเริ่มต้น ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยด้วยเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
เมื่อตรวจพบการฉีกขาด ควรปรึกษาแพทย์เรื่องการผ่าตัดส่องกล้องเพื่อเย็บซ่อมเส้นเอ็น
ไม่ควรปล่อยไว้นานนะครับ การทนเจ็บไปเรื่อยๆไม่เป็นผลดีต่อเส้นเอ็นไหล่.
เพราะการปล่อยไว้ ไม่เย็บซ่อมเส้นเอ็น จะทำให้เส้นเอ็นค่อยๆหดตัวและฉีกขาดมากขึ้นเรื่อยๆ
จนสุดท้ายจะมีอาการเจ็บเรื้อรัง กล้ามเนื้อฝ่อ ข้อเสื่อมและยกแขนไม่ขึ้น
ถ้าเป็นมากถึงระยะนี้ แพทย์ก็จะไม่สามารถทำการผ่าตัดเย็บซ่อมเส้นเอ็นที่หดตัวเรื้อรังได้อีกต่อไปครับ
ผู้ป่วยหลายรายต้องทนรับสภาพกับกล้ามเนื้อไหล่ที่อ่อนแรงและอาการปวดเรื้อรังไปอีกหลายปี
เนื่องจากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและรวดเร็ว
นพ.ไตร พรหมแสง
การที่เส้นเอ็นไหล่ฉีกขาด แล้วไม่ได้รับการรักษา
จะเป็นสาเหตุของข้อไหล่เสื่อมได้ในอนาคต
ผู้ป่วยที่มีเส้นเอ็นไหล่ฉีกขาดระยะเริ่มต้น ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยด้วยเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
เมื่อตรวจพบการฉีกขาด ควรปรึกษาแพทย์เรื่องการผ่าตัดส่องกล้องเพื่อเย็บซ่อมเส้นเอ็น
ไม่ควรปล่อยไว้นานนะครับ การทนเจ็บไปเรื่อยๆไม่เป็นผลดีต่อเส้นเอ็นไหล่.
เพราะการปล่อยไว้ ไม่เย็บซ่อมเส้นเอ็น จะทำให้เส้นเอ็นค่อยๆหดตัวและฉีกขาดมากขึ้นเรื่อยๆ
จนสุดท้ายจะมีอาการเจ็บเรื้อรัง กล้ามเนื้อฝ่อ ข้อเสื่อมและยกแขนไม่ขึ้น
ถ้าเป็นมากถึงระยะนี้ แพทย์ก็จะไม่สามารถทำการผ่าตัดเย็บซ่อมเส้นเอ็นที่หดตัวเรื้อรังได้อีกต่อไปครับ
ผู้ป่วยหลายรายต้องทนรับสภาพกับกล้ามเนื้อไหล่ที่อ่อนแรงและอาการปวดเรื้อรังไปอีกหลายปี
เนื่องจากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและรวดเร็ว
นพ.ไตร พรหมแสง
ยกแขนไม่ขึ้น เพราะโรคเส้นเอ็นไหล่ฉีกขาดหรือโรคไหล่ติด ???
ยกแขนไม่ขึ้น เพราะโรคเส้นเอ็นไหล่ฉีกขาดหรือโรคไหล่ติด ???
เราต้องแยกให้ได้ว่าเป็นโรคอะไรแน่ เพราะไหล่ติด...หายเองได้
แต่เส้นเอ็นไหล่ขาด ต้องรีบผ่าตัดส่องกล้อง
ถ้าเวลาจะยกแขนแล้วต้องยักไหล่ช่วย
หรือพยายามออกแรงยกเท่าไหร่ ก็ยังยกแขนไม่ขึ้น
อาการนี้อาจเกิดได้จาก โรคเส้นเอ็นไหล่ฉีกขาด หรือ โรคไหล่ติด
แล้วเราจะแยกได้อย่างไร ว่าเป็น”เส้นเอ็นไหล่ฉีกขาด" หรือแค่ “ไหล่ติด” ?
วิธีแยกกันแบบง่ายๆ คือ
ถ้าใช้แขนอีกข้างมาช่วยยก หรือให้คนอื่นช่วยยกแขนให้
แล้วสามารถยกแขนขึ้นไปได้...อันนี้แสดงว่าเป็น โรคเส้นเอ็นไหล่ฉีกขาด
แต่ถ้าใช้แขนอีกข้างมาช่วยยก ก็ยังยกไม่ขึ้น
ให้คนอื่นมาช่วยยกให้ก็ยังติด ยังยกไม่ขึ้นอีก
อันนี้แสดงว่าเป็น โรคไหล่ติด
ต้องแยกกันให้ดีนะครับ ระหว่าง 2 โรคนี้
เพราะโรคไหล่ติด...หายเองได้
แต่โรคเส้นเอ็นไหล่ฉีกขาด...ต้องผ่าตัดส่องกล้อง
ถ้าแยกเองไม่ได้ ก็ควรรีบมาพบแพทย์ครับ...
นพ.ไตร พรหมแสง
ภาพจาก wheelsononline
เล่าสู่กันฟัง " แพทย์ฉพาะทางข้อไหล่ " ต้องเรียนอะไรมาบ้าง
เล่าสู่กันฟัง " แพทย์ฉพาะทางข้อไหล่ " ต้องเรียนอะไรมาบ้าง
หลังจากที่เปิดเพจมาได้เพียงสัปดาห์เดียว มีผู้สนใจติดตามข้อมูลมากถึง 1,000 คน
หลายคนอาจสงสัยว่าผมเป็นใคร บทความที่เขียนมีความน่าเชื่อถือแค่ไหน??
ผมเลยขออนุญาตมาแนะนำตัวเองซักหน่อย
มาทำความรู้จักกับหมอไตร กันซักนิดนะครับ...
หลายคนคงสงสัยว่ากว่าจะมาเป็นแพทย์เฉพาะทาง ที่วันๆ ตรวจแต่เฉพาะ “ข้อไหล่” อย่างเดียวเนี่ย มีความเป็นมายังไงบ้าง
ผมเข้าเรียนที่คณะแพทยศาสตร์จุฬาฯ ตั้งแต่ปี 2541 จบมาทำงานปี 2547
แล้วก็มาเรียนต่อเป็นแพทย์เฉพาะทางศัลยกรรมกระดูกและข้อ ที่ รพ.จุฬาฯ อีก 4 ปี
ได้รับวุฒิบัตรออร์โธปิดิกส์ จากราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ รับรองโดยแพทยสภา
ระหว่างเรียนเป็นศัลยแพทย์กระดูกและข้อที่จุฬา ผมก็ได้เรียนปริญญาโทสาขา Biomedical Engineering ควบคู่ไปด้วย
และเรียนต่อด้านเวชศาสตร์การกีฬา ที่ รพ.จุฬาอีก 1 ปี ซึ่งเป็นการเรียนเกี่ยวกับการผ่าตัดส่องกล้องข้อไหล่โดยเฉพาะครับ
ปัจจุบันเคสผ่าตัดที่ รพ.รัฐบาลและเอกชน เฉลี่ย 300 รายต่อปี ส่วนใหญ่เป็นคนไข้กระดูกหักได้รับการผ่าตัดดามโลหะ และ ผ่าตัดส่องกล้องข้อไหล่และเข่าประมาณ 100 รายต่อปีครับ
สถานที่ออกตรวจ - รพ.นพรัตนราชธานี อังคาร ศุกร์ 8:00-12:00
และ รพ.ศิครินทร์ พุธ 17:00-20:00
เบอร์โทรเลขาฯ 085-045-9249 , Line ID - tiradra
ขณะนี้คนไข้ที่ผมดูแลส่วนใหญ่ ที่ รพ.นพรัตนราชธานี และ รพ.ศิครินทร์
ก็จะมารักษาเรื่องปวดไหล่ เส้นเอ็นไหล่ขาด ไหล่หลุด ไหล่ติด ครับ
นพ.ไตร พรหมแสง
หลังจากที่เปิดเพจมาได้เพียงสัปดาห์เดียว มีผู้สนใจติดตามข้อมูลมากถึง 1,000 คน
หลายคนอาจสงสัยว่าผมเป็นใคร บทความที่เขียนมีความน่าเชื่อถือแค่ไหน??
ผมเลยขออนุญาตมาแนะนำตัวเองซักหน่อย
มาทำความรู้จักกับหมอไตร กันซักนิดนะครับ...
หลายคนคงสงสัยว่ากว่าจะมาเป็นแพทย์เฉพาะทาง ที่วันๆ ตรวจแต่เฉพาะ “ข้อไหล่” อย่างเดียวเนี่ย มีความเป็นมายังไงบ้าง
ผมเข้าเรียนที่คณะแพทยศาสตร์จุฬาฯ ตั้งแต่ปี 2541 จบมาทำงานปี 2547
แล้วก็มาเรียนต่อเป็นแพทย์เฉพาะทางศัลยกรรมกระดูกและข้อ ที่ รพ.จุฬาฯ อีก 4 ปี
ได้รับวุฒิบัตรออร์โธปิดิกส์ จากราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ รับรองโดยแพทยสภา
ระหว่างเรียนเป็นศัลยแพทย์กระดูกและข้อที่จุฬา ผมก็ได้เรียนปริญญาโทสาขา Biomedical Engineering ควบคู่ไปด้วย
และเรียนต่อด้านเวชศาสตร์การกีฬา ที่ รพ.จุฬาอีก 1 ปี ซึ่งเป็นการเรียนเกี่ยวกับการผ่าตัดส่องกล้องข้อไหล่โดยเฉพาะครับ
ปัจจุบันเคสผ่าตัดที่ รพ.รัฐบาลและเอกชน เฉลี่ย 300 รายต่อปี ส่วนใหญ่เป็นคนไข้กระดูกหักได้รับการผ่าตัดดามโลหะ และ ผ่าตัดส่องกล้องข้อไหล่และเข่าประมาณ 100 รายต่อปีครับ
สถานที่ออกตรวจ - รพ.นพรัตนราชธานี อังคาร ศุกร์ 8:00-12:00
และ รพ.ศิครินทร์ พุธ 17:00-20:00
เบอร์โทรเลขาฯ 085-045-9249 , Line ID - tiradra
ขณะนี้คนไข้ที่ผมดูแลส่วนใหญ่ ที่ รพ.นพรัตนราชธานี และ รพ.ศิครินทร์
ก็จะมารักษาเรื่องปวดไหล่ เส้นเอ็นไหล่ขาด ไหล่หลุด ไหล่ติด ครับ
นพ.ไตร พรหมแสง
โรคผลึกแคลเซียมเกาะเส้นเอ็น จะปวดไหล่มาก !!!
โรคผลึกแคลเซียมเกาะเส้นเอ็น จะปวดไหล่มาก !!!
จนอยากจะตัดแขนทิ้งเลยหล่ะครับ...
โรคนี้ใครเคยเป็นแล้วจะรู้เลย ว่ามันทำให้ปวดไหล่สุดๆ
บางคนปวดจนไข้ขึ้น บางคนปวดจนร้องไห้เลย
สาเหตุของมันก็มาจาก การที่มีผลึกแคลเซียมไปก่อตัวอยู่ในเส้นเอ็นไหล่ของเรา
วันดีคืนดี ก้อนผลึกอันนี้ก็เกิดการระเบิดออกมา ทำให้มีการอักเสบรุนแรงในข้อไหล่
เอกซเรย์ดูจะเห็นเงาหินปูนเกาะที่เส้นเอ็น เป็นก้อนกลมๆ
เวลาปวดจะทรมานมากๆ
แต่รักษาไม่ยากครับ ฉีดยาสเตียรอยด์เข็มเดียว คนไข้ก็จะหายปวดเลย
นพ.ไตร พรหมแสง
ปวดไหล่ จะไปนวดแผนโบราณได้มั้ย ?
ปวดไหล่ จะไปนวดแผนโบราณได้มั้ย ?
ได้ครับ... การนวดจะทำให้กล้ามเนื้อรอบๆข้อไหล่มีการผ่อนคลาย
จากที่เคยเกร็งเพราะปวด ก็จะคลายลง. อาการปวดก็จะบรรเทาครับ
การนวดจะช่วยได้ดีมาก ถ้ามีอาการปวดบริเวณ “สะบัก” หรือ “บ่า” ครับ
เพราะส่วนนี้จะมีกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ ที่มักจะหดเกร็ง ทำให้เราปวดสะบัก ปวดบ่า
หรือที่เราๆมักเรียกว่าสะบักจม หรือ นอนตกหมอน
...แต่ถ้ามีอาการปวด “ด้านหน้าของข้อไหล่" หมอไม่แนะนำให้นวดครับ
เพราะการปวดบริเวณนี้ มักมีสาเหตุมาจาก เส้นเอ็นอักเสบ หรือ เส้นเอ็นขาด หรือ ไหล่ติด
จำง่ายๆนะครับ “ปวดไหล่ด้านหลังไปนวดได้...ปวดไหล่ด้านหน้ามาพบแพทย์เลยครับ”
นพ.ไตร พรหมแสง
เอื้อมไปหยิบของที่เบาะหลัง ก็ทำให้เอ็นไหล่ขาดได้ !!!
เอื้อมไปหยิบของที่เบาะหลัง ก็ทำให้เอ็นไหล่ขาดได้ !!!
หลายคนคงเคยมีประสบการณ์ ขณะขับรถแล้วเอื้อมไปหยิบของที่เบาะหลังรถ
หลังจากนั้นก็มีอาการปวดไหล่ตามมา...
หมอมีคนไข้หลายคนที่เอ็นไหล่ฉีกขาด จากการเอื้อมไปหยิบของที่เบาะหลัง
และต้องทำการผ่าตัดส่องกล้องเพื่อเข้าไปเย็บเส้นเอ็นที่ขาด
กว่าจะกลับไปใช้งานแขนได้ปกติเหมือนเดิม ก็ใช้เวลาหลายเดือนครับ
รู้อย่างนี้แล้ว คราวหน้าถ้าคุณจะเอื้อมหยิบของหลังรถ
ก็ต้องระมัดระวังกันหน่อยนะครับ...
นพ.ไตร พรหมแสง
หลายคนคงเคยมีประสบการณ์ ขณะขับรถแล้วเอื้อมไปหยิบของที่เบาะหลังรถ
หลังจากนั้นก็มีอาการปวดไหล่ตามมา...
หมอมีคนไข้หลายคนที่เอ็นไหล่ฉีกขาด จากการเอื้อมไปหยิบของที่เบาะหลัง
และต้องทำการผ่าตัดส่องกล้องเพื่อเข้าไปเย็บเส้นเอ็นที่ขาด
กว่าจะกลับไปใช้งานแขนได้ปกติเหมือนเดิม ก็ใช้เวลาหลายเดือนครับ
รู้อย่างนี้แล้ว คราวหน้าถ้าคุณจะเอื้อมหยิบของหลังรถ
ก็ต้องระมัดระวังกันหน่อยนะครับ...
นพ.ไตร พรหมแสง
เล่นเวทอย่างไร ไม่ให้เจ็บไหล่ ในวัย 40
เล่นเวทอย่างไร ไม่ให้เจ็บไหล่ ในวัย 40
ผู้ชายหลายๆคน ชอบออกกำลังกาย โดยเฉพาะการเล่นเวท ยกดัมเบล บาร์เบล
แต่เมื่ออายุย่างเข้าสู่วัยกลางคน สภาพของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นก็ไม่ได้ฟิตเหมือนตอนเป็นวัยรุ่นนะครับ
ต้องใช้ความระมัดระวังพอสมควรในการออกกำลังกาย
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการบาดเจ็บต่อเส้นเอ็นข้อไหล่.
เพราะถ้าคุณปวดไหล่ขึ้นมา ก็คงจะเสียเวลามาพบหมอ
อาจต้องขาดงาน เสียรายได้ เสียเวลา ดีไม่ดีอาจต้องผ่าตัดอีก
เพราะฉะนั้น ป้องกันไว้ดีกว่านะครับ......
ข้อควรระวังคือ
หลีกเลี่ยงการยกนำ้หนักที่มากเกินไป คือเราต้องรู้ว่าแขนเรามีแรงยกได้แค่ไหน
อย่าไปฝืนมาก เพราะจะทำให้เอ็นขาดได้ครับ
ให้เคลื่อนไหวช้าๆขณะยกน้ำหนัก อย่ากระชากแขนอย่างรุนแรง
ในการยกบาร์เบลท่า bench press ไม่ควรแบะไหล่ไปด้านหลังมากเกินไป
เพราะจะทำให้หมอนรองข้อไหล่บาดเจ็บได้ครับ
หลี่กเลี่ยงการใช้สารสเตียรอยด์ เพราะจะทำให้เส้นเอ็นมีการฉีกขาดได้ง่าย
นพ.ไตร พรหมแสง
ผู้ชายหลายๆคน ชอบออกกำลังกาย โดยเฉพาะการเล่นเวท ยกดัมเบล บาร์เบล
แต่เมื่ออายุย่างเข้าสู่วัยกลางคน สภาพของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นก็ไม่ได้ฟิตเหมือนตอนเป็นวัยรุ่นนะครับ
ต้องใช้ความระมัดระวังพอสมควรในการออกกำลังกาย
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการบาดเจ็บต่อเส้นเอ็นข้อไหล่.
เพราะถ้าคุณปวดไหล่ขึ้นมา ก็คงจะเสียเวลามาพบหมอ
อาจต้องขาดงาน เสียรายได้ เสียเวลา ดีไม่ดีอาจต้องผ่าตัดอีก
เพราะฉะนั้น ป้องกันไว้ดีกว่านะครับ......
ข้อควรระวังคือ
หลีกเลี่ยงการยกนำ้หนักที่มากเกินไป คือเราต้องรู้ว่าแขนเรามีแรงยกได้แค่ไหน
อย่าไปฝืนมาก เพราะจะทำให้เอ็นขาดได้ครับ
ให้เคลื่อนไหวช้าๆขณะยกน้ำหนัก อย่ากระชากแขนอย่างรุนแรง
ในการยกบาร์เบลท่า bench press ไม่ควรแบะไหล่ไปด้านหลังมากเกินไป
เพราะจะทำให้หมอนรองข้อไหล่บาดเจ็บได้ครับ
หลี่กเลี่ยงการใช้สารสเตียรอยด์ เพราะจะทำให้เส้นเอ็นมีการฉีกขาดได้ง่าย
นพ.ไตร พรหมแสง
ไม่เคยยกของหนัก แต่ทำไมเอ็นไหล่ถึงฉีกขาดได้ ?
ไม่เคยยกของหนัก แต่ทำไมเอ็นไหล่ถึงฉีกขาดได้ ?
เป็นคำถามยอดฮิตเลยครับ คนไข้ที่เอ็นไหล่ฉีกขาดมักจะมีอายุ 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งมักจะมีความเสื่อมของเส้นเอ็นไปตามธรรมชาติ
เส้นเอ็นไหล่ เป็นส่วนที่เปราะบาง มีเลือดไปเลี้ยงน้อย
มีโอกาสที่จะขาดได้ง่ายกว่าเส้นเอ็นส่วนอื่นๆครับ
คนไข้ของหมอหลายๆคน ไม่เคยยกของหนัก ไม่เคยเกิดอุบัติเหตุ
แต่มีเส้นเอ็นไหล่ฉีกขาด. มันเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติครับ
แต่เมื่อมีเส้นเอ็นไหล่ฉีกขาดแล้ว ต้องรีบรักษานะครับ
เพราะขาดแล้วขาดเลย เส้นเอ็นจะไม่สมานได้เอง
ต้องผ่าตัดเข้าไปเย็บเส้นเอ็นครับ.
ขอบคุณเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่สร้างกล้องวีดีโอผ่าตัดขนาดเล็ก
ปัจจุบันการผ่าตัดส่องกล้องไหล่ แผลเล็กมากๆครับเมื่อเทียบกับอดีต
นพ.ไตร พรหมแสง
เป็นคำถามยอดฮิตเลยครับ คนไข้ที่เอ็นไหล่ฉีกขาดมักจะมีอายุ 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งมักจะมีความเสื่อมของเส้นเอ็นไปตามธรรมชาติ
เส้นเอ็นไหล่ เป็นส่วนที่เปราะบาง มีเลือดไปเลี้ยงน้อย
มีโอกาสที่จะขาดได้ง่ายกว่าเส้นเอ็นส่วนอื่นๆครับ
คนไข้ของหมอหลายๆคน ไม่เคยยกของหนัก ไม่เคยเกิดอุบัติเหตุ
แต่มีเส้นเอ็นไหล่ฉีกขาด. มันเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติครับ
แต่เมื่อมีเส้นเอ็นไหล่ฉีกขาดแล้ว ต้องรีบรักษานะครับ
เพราะขาดแล้วขาดเลย เส้นเอ็นจะไม่สมานได้เอง
ต้องผ่าตัดเข้าไปเย็บเส้นเอ็นครับ.
ขอบคุณเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่สร้างกล้องวีดีโอผ่าตัดขนาดเล็ก
ปัจจุบันการผ่าตัดส่องกล้องไหล่ แผลเล็กมากๆครับเมื่อเทียบกับอดีต
นพ.ไตร พรหมแสง
3 สัญญาณเตือน ก่อนเป็นโรคไหล่ติด
3 สัญญาณเตือน ก่อนเป็นโรคไหล่ติด
ปวดไหล่ - อาการปวดไหล่เป็นอาการแรกของโรคไหล่ติด จะปวดบริเวณด้านหน้าและด้านข้างของข้อไหล่
บางคนจะมีอาการปวดร้าวไปที่ต้นแขนได้
ยกแขนไม่ขึ้น - เวลาจะยกแขน คนไข้จะปวดมากๆ จนไม่อยากจะขยับข้อไหล่เลย ท่าที่ปวดมากที่สุด น่าจะเป็นการเอาแขนไขว้หลัง เช่น เวลาติดตะขอเสื้อในหรือจะใส่เข็มขัด
นอนตะแคงไม่ได้ - นอนทับแขนแล้วมักจะปวดมาก จนต้องเปลี่ยนท่านอนบ่อยๆ บางคนรำคาญมาก จะนอนท่าไหนก็ปวดไปหมด
ถ้ามีอาการทั้ง 3 อย่างนี้ ก็พอจะบอกได้แล้วว่าเริ่มมีอาการ “ข้อไหล่ติด” ครับ
นพ.ไตร พรหมแสง
ปวดไหล่ - อาการปวดไหล่เป็นอาการแรกของโรคไหล่ติด จะปวดบริเวณด้านหน้าและด้านข้างของข้อไหล่
บางคนจะมีอาการปวดร้าวไปที่ต้นแขนได้
ยกแขนไม่ขึ้น - เวลาจะยกแขน คนไข้จะปวดมากๆ จนไม่อยากจะขยับข้อไหล่เลย ท่าที่ปวดมากที่สุด น่าจะเป็นการเอาแขนไขว้หลัง เช่น เวลาติดตะขอเสื้อในหรือจะใส่เข็มขัด
นอนตะแคงไม่ได้ - นอนทับแขนแล้วมักจะปวดมาก จนต้องเปลี่ยนท่านอนบ่อยๆ บางคนรำคาญมาก จะนอนท่าไหนก็ปวดไปหมด
ถ้ามีอาการทั้ง 3 อย่างนี้ ก็พอจะบอกได้แล้วว่าเริ่มมีอาการ “ข้อไหล่ติด” ครับ
นพ.ไตร พรหมแสง
คำถาม 4 ข้อ ที่หมอจะถามเมื่อคุณมีอาการปวดไหล่ (เตรียมคำตอบไว้ก่อนก็ดีนะครับ)
คำถาม 4 ข้อ ที่หมอจะถามเมื่อคุณมีอาการปวดไหล่ (เตรียมคำตอบไว้ก่อนก็ดีนะครับ)
การเตรียมตัวก่อนการไปพบแพทย์เป็นเรื่องสำคัญ.
ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีในการเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
จะให้ภาพของข้อไหล่ที่ชัดเจนและช่วยในการวินิจฉัยโรคได้แม่นยำมากๆ
แต่ข้อมูลประวัติที่ถูกต้องจากผู้ป่วย จะทำให้แพทย์ให้การวินิจฉัยโรคได้แม่นยำมากขึ้นไปอีก
ข้อมูล 4 อย่าง ที่แพทย์ต้องการ เพื่อการวินิจฉัยโรคของข้อไหล่ คือ
- ปวดมานานเท่าไหร่แล้ว (กี่วัน กี่เดือน หรือ ปวดเป็นๆหายๆ)
- ตำแหน่งที่ปวด (ให้ชี้ให้แพทย์ดูได้เลย)
- เคยมีอุบัติเหตุหรือไม่
- เคยได้รับรักษามาก่อนหรือไม่ เช่น ทานยา ฉีดยาสเตียรอยด์หรือทำกายภาพบำบัด แล้วผลของการรักษาที่ผ่านมาเป็นอย่างไร
เพียงเราเตรียมคำตอบเหล่านี้ไว้ล่วงหน้า ก็จะช่วยให้การคุยกับหมอเป็นเรื่องง่ายขึ้นอีกเยอะครับ
นพ.ไตร พรหมแสง
การเตรียมตัวก่อนการไปพบแพทย์เป็นเรื่องสำคัญ.
ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีในการเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
จะให้ภาพของข้อไหล่ที่ชัดเจนและช่วยในการวินิจฉัยโรคได้แม่นยำมากๆ
แต่ข้อมูลประวัติที่ถูกต้องจากผู้ป่วย จะทำให้แพทย์ให้การวินิจฉัยโรคได้แม่นยำมากขึ้นไปอีก
ข้อมูล 4 อย่าง ที่แพทย์ต้องการ เพื่อการวินิจฉัยโรคของข้อไหล่ คือ
- ปวดมานานเท่าไหร่แล้ว (กี่วัน กี่เดือน หรือ ปวดเป็นๆหายๆ)
- ตำแหน่งที่ปวด (ให้ชี้ให้แพทย์ดูได้เลย)
- เคยมีอุบัติเหตุหรือไม่
- เคยได้รับรักษามาก่อนหรือไม่ เช่น ทานยา ฉีดยาสเตียรอยด์หรือทำกายภาพบำบัด แล้วผลของการรักษาที่ผ่านมาเป็นอย่างไร
เพียงเราเตรียมคำตอบเหล่านี้ไว้ล่วงหน้า ก็จะช่วยให้การคุยกับหมอเป็นเรื่องง่ายขึ้นอีกเยอะครับ
นพ.ไตร พรหมแสง
ถ้ามีอาการ 3 อย่างนี้ บอกได้เลยว่าหัวไหล่แย่แล้ว !!!
ถ้ามีอาการ 3 อย่างนี้ บอกได้เลยว่าหัวไหล่แย่แล้ว !!!
ปวดไหล่เวลานอนตะแคง เป็นอาการที่บ่งบอกว่าไหล่คุณกำลังแย่แล้ว
สาเหตุที่ทำให้คนไข้ส่วนใหญ่ต้องมาพบหมอก็คืออาการปวดไหล่เวลานอนนี่แหล่ะครับ
ปวดตอนกลางวันยังพอทนได้ แต่มาปวดเอาเวลาจะนอนนี่ทนไม่ได้จริงๆ
ติดตะขอเสื้อในไม่ได้ เป็นอาการที่ทำให้ผู้หญิงเกิดความลำบากมากในการแต่งตัว ข้อไหล่จะไม่สามารถหมุนเอื้อมไปด้านหลังได้ ถ้าในผู้ชายก็จะไม่สามารถใส่เข็มขัดด้วยตัวเองได้
ยกแขนไม่ขึ้น อันนี้เป็นหนักแล้วครับ พบได้ในโรคข้อไหล่ติดหรือเส้นเอ็นไหล่ฉีกขาด ถ้ารอให้เป็นถึงขั้นนี้ก็คงต้องรักษากันนานครับ
หวังว่าแฟนเพจ “สุขภาพ ข้อไหล่” คงไม่พบกับปัญหาทั้ง 3 ข้อนี้นะครับ
เพราะในโพสต์ต่อๆไป ผมจะสอนวิธีการดูแลข้อไหล่ของเราทุกคนใ้ห้แข็งแรงครับ
นพ.ไตร พรหมแสง
ปวดไหล่เวลานอนตะแคง เป็นอาการที่บ่งบอกว่าไหล่คุณกำลังแย่แล้ว
สาเหตุที่ทำให้คนไข้ส่วนใหญ่ต้องมาพบหมอก็คืออาการปวดไหล่เวลานอนนี่แหล่ะครับ
ปวดตอนกลางวันยังพอทนได้ แต่มาปวดเอาเวลาจะนอนนี่ทนไม่ได้จริงๆ
ติดตะขอเสื้อในไม่ได้ เป็นอาการที่ทำให้ผู้หญิงเกิดความลำบากมากในการแต่งตัว ข้อไหล่จะไม่สามารถหมุนเอื้อมไปด้านหลังได้ ถ้าในผู้ชายก็จะไม่สามารถใส่เข็มขัดด้วยตัวเองได้
ยกแขนไม่ขึ้น อันนี้เป็นหนักแล้วครับ พบได้ในโรคข้อไหล่ติดหรือเส้นเอ็นไหล่ฉีกขาด ถ้ารอให้เป็นถึงขั้นนี้ก็คงต้องรักษากันนานครับ
หวังว่าแฟนเพจ “สุขภาพ ข้อไหล่” คงไม่พบกับปัญหาทั้ง 3 ข้อนี้นะครับ
เพราะในโพสต์ต่อๆไป ผมจะสอนวิธีการดูแลข้อไหล่ของเราทุกคนใ้ห้แข็งแรงครับ
นพ.ไตร พรหมแสง
แกว่งแขนแรงๆ จะทำให้เอ็นไหล่อักเสบ !!!!
แกว่งแขนแรงๆ จะทำให้เอ็นไหล่อักเสบ !!!!
ผมมักพบคนไข้สูงอายุที่ชอบเดินออกกำลังกายพร้อมกับการแกว่งแขนขึ้น-ลง แบบแรงๆครับ
เพราะท่านต้องการจะออกกำลังหัวไหล่และแขน
แต่หลังจากนั้นจะมาพบหมอด้วยอาการปวดไหล่
หลายคนเข้าใจผิดว่าการเหวี่ยงแขนแรงๆเป็นการออกกำลังกายแขนที่ดี
แต่จริงๆแล้ว มันไม่ดีต่อหัวไหล่ของผู้สูงอายุเลยครับ
การแกว่งแขนแรงๆ จะทำให้เส้นเอ็นในข้อไหล่เกิดการเสียดสีกับกระดูกด้านบน (ลองเอามือคลำดู กระดูกที่ต่อจากไหปลาร้านะครับ)
ขอใช้ศัพท์แพทย์นิดนึงนะ เราเรียกว่ากระดูก acromion
การที่เอ็นไหล่เสียดสีกับกระดูก acromion บ่อยๆ จะทำให้เกิดการอักเสบและเอ็นขาดได้นะครับ
คำแนะนำ ก็คือผู้สูงอายุควรยกแขนขึ้น-ลง แบบช้าๆครับ ยิ่งช้ายิ่งดี. เพราะกล้ามเนื้อไหล่จะได้รับการบริหารไปด้วย
รู้อย่างนี้แล้ว ลูกหลานคนไหนที่เห็นผู้สูงอายุที่บ้านชอบแกว่งหรือเหวี่ยงแขนแรงๆ ก็ควรรีบไปบอกท่านให้เลิกทำนะครับ
นพ.ไตร พรหมแสง
ผมมักพบคนไข้สูงอายุที่ชอบเดินออกกำลังกายพร้อมกับการแกว่งแขนขึ้น-ลง แบบแรงๆครับ
เพราะท่านต้องการจะออกกำลังหัวไหล่และแขน
แต่หลังจากนั้นจะมาพบหมอด้วยอาการปวดไหล่
หลายคนเข้าใจผิดว่าการเหวี่ยงแขนแรงๆเป็นการออกกำลังกายแขนที่ดี
แต่จริงๆแล้ว มันไม่ดีต่อหัวไหล่ของผู้สูงอายุเลยครับ
การแกว่งแขนแรงๆ จะทำให้เส้นเอ็นในข้อไหล่เกิดการเสียดสีกับกระดูกด้านบน (ลองเอามือคลำดู กระดูกที่ต่อจากไหปลาร้านะครับ)
ขอใช้ศัพท์แพทย์นิดนึงนะ เราเรียกว่ากระดูก acromion
การที่เอ็นไหล่เสียดสีกับกระดูก acromion บ่อยๆ จะทำให้เกิดการอักเสบและเอ็นขาดได้นะครับ
คำแนะนำ ก็คือผู้สูงอายุควรยกแขนขึ้น-ลง แบบช้าๆครับ ยิ่งช้ายิ่งดี. เพราะกล้ามเนื้อไหล่จะได้รับการบริหารไปด้วย
รู้อย่างนี้แล้ว ลูกหลานคนไหนที่เห็นผู้สูงอายุที่บ้านชอบแกว่งหรือเหวี่ยงแขนแรงๆ ก็ควรรีบไปบอกท่านให้เลิกทำนะครับ
นพ.ไตร พรหมแสง
โรคยอดฮิต ของข้อไหล่ 3 อันดับแรก
โรคยอดฮิต ของข้อไหล่ 3 อันดับแรก
ข้อไหล่ติด เป็นโรคยอดฮิตอันดับหนึ่ง พบได้บ่อยมากๆ สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการใช้งานข้อไหล่ที่ไม่ระมัดระวัง
ทำให้เกิดการบาดเจ็บในข้อไหล่ พอเจ็บก็จะไม่ขยับไหล่ ทำให้เกิดไหล่ติดตามมา หรือ ถ้ามีโรคเบาหวานอยู่เดิมก็จะทำให้ไหล่ติดง่ายขึ้นครับ
เอ็นไหล่อักเสบ นี่ก็เป็นอีกโรคที่ทำให้คนไข้ปวดไหล่มากๆ เวลาจะยกแขนหยิบส่ิงของหรือเอื้อมมือไปแตะข้างหลังตัวเองก็จะปวดแปล๊บบริเวณไหล่ด้านข้าง สาเหตุก็มาจากมีการอักเสบของเส้นเอ็นในไหล่ มักเกิดจากการใช้งานข้อไหล่มากเกินไปครับ
เอ็นไหล่ฉีกขาด อันนี้เป็นโรคที่น่ากลัวพอสมควร. ถ้ามีเอ็นไหล่ขาดแล้ว ผู้ป่วยจะยกแขนไม่ขึ้น หรือเวลายกจะเจ็บมากๆๆๆ
เวลานอนตะแคงทับก็จะปวด บางคนปวดมากจนนอนไม่หลับเลย
โรคนี้คงต้องพบแพทย์เพื่อผ่าตัดส่องกล้องนะครับ
นพ.ไตร พรหมแสง
โดย นพ.ไตร พรหมแสง
ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ
ผู้เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดส่องกล้องข้อไหล่และข้อเข่า
ข้อไหล่ติด เป็นโรคยอดฮิตอันดับหนึ่ง พบได้บ่อยมากๆ สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการใช้งานข้อไหล่ที่ไม่ระมัดระวัง
ทำให้เกิดการบาดเจ็บในข้อไหล่ พอเจ็บก็จะไม่ขยับไหล่ ทำให้เกิดไหล่ติดตามมา หรือ ถ้ามีโรคเบาหวานอยู่เดิมก็จะทำให้ไหล่ติดง่ายขึ้นครับ
เอ็นไหล่อักเสบ นี่ก็เป็นอีกโรคที่ทำให้คนไข้ปวดไหล่มากๆ เวลาจะยกแขนหยิบส่ิงของหรือเอื้อมมือไปแตะข้างหลังตัวเองก็จะปวดแปล๊บบริเวณไหล่ด้านข้าง สาเหตุก็มาจากมีการอักเสบของเส้นเอ็นในไหล่ มักเกิดจากการใช้งานข้อไหล่มากเกินไปครับ
เอ็นไหล่ฉีกขาด อันนี้เป็นโรคที่น่ากลัวพอสมควร. ถ้ามีเอ็นไหล่ขาดแล้ว ผู้ป่วยจะยกแขนไม่ขึ้น หรือเวลายกจะเจ็บมากๆๆๆ
เวลานอนตะแคงทับก็จะปวด บางคนปวดมากจนนอนไม่หลับเลย
โรคนี้คงต้องพบแพทย์เพื่อผ่าตัดส่องกล้องนะครับ
นพ.ไตร พรหมแสง
ความรู้เพื่อประชาชน
เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ "ข้อไหล่" โดย นพ.ไตร พรหมแสง
ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ
ผู้เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดส่องกล้องข้อไหล่และข้อเข่า
สุขภาพ ข้อไหล่
สวัสดี แฟนเพจ “สุขภาพ ข้อไหล่” ทุกท่านนะครับ
ผมหมอไตร เป็นศัลยแพทย์กระดูกและข้อ เชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคข้อไหล่
หลังจากที่เป็นหมอมา 10 ปี ผมรักษาคนไข้ที่มีอาการปวดไหล่มามากมาย
พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังขาดความรู้เกี่ยวกับการดูแล “ข้อไหล่” ของตนเอง
ผมจึงได้ตัดสินใจทำเพจ “สุขภาพ ข้อไหล่” ขึ้นมา เพื่อเผยแพร่ความรู้ต่างๆสำหรับผู้ที่รักตนเองและอยากจะป้องกันตนเองจากความเจ็บป่วย
การป้องกันโรคเป็นสิ่งที่ดีที่สุด. ดีกว่าการทานยาและการผ่าตัด
แต่ผู้คนส่วนมากไม่ค่อยให้ความสนใจ. จะหันมาสนใจก็ต่อเมื่อตนเองเริ่มมีอาการปวดไหล่แล้ว.
การใช้งานข้อไหล่ของตัวเองอย่างไม่ระมัดระวัง ก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็น ไหล่ติด ไหล่หลุด เอ็นไหล่อักเสบ อันที่หนักสุดก็เอ็นไหล่ฉีกขาด
ผมขอให้เพจนี้ ทำหน้าที่นำความรู้ไปสู่ประชาชนผู้รักสุขภาพทุกคน
ขอให้มี “สุขภาพ ข้อไหล่” ที่ดีครับ
นพ.ไตร พรหมแสง
ผมหมอไตร เป็นศัลยแพทย์กระดูกและข้อ เชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคข้อไหล่
หลังจากที่เป็นหมอมา 10 ปี ผมรักษาคนไข้ที่มีอาการปวดไหล่มามากมาย
พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังขาดความรู้เกี่ยวกับการดูแล “ข้อไหล่” ของตนเอง
ผมจึงได้ตัดสินใจทำเพจ “สุขภาพ ข้อไหล่” ขึ้นมา เพื่อเผยแพร่ความรู้ต่างๆสำหรับผู้ที่รักตนเองและอยากจะป้องกันตนเองจากความเจ็บป่วย
การป้องกันโรคเป็นสิ่งที่ดีที่สุด. ดีกว่าการทานยาและการผ่าตัด
แต่ผู้คนส่วนมากไม่ค่อยให้ความสนใจ. จะหันมาสนใจก็ต่อเมื่อตนเองเริ่มมีอาการปวดไหล่แล้ว.
การใช้งานข้อไหล่ของตัวเองอย่างไม่ระมัดระวัง ก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็น ไหล่ติด ไหล่หลุด เอ็นไหล่อักเสบ อันที่หนักสุดก็เอ็นไหล่ฉีกขาด
ผมขอให้เพจนี้ ทำหน้าที่นำความรู้ไปสู่ประชาชนผู้รักสุขภาพทุกคน
ขอให้มี “สุขภาพ ข้อไหล่” ที่ดีครับ
นพ.ไตร พรหมแสง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)